งานพ่นสีหรืองานเคลือบสีต้องมีความสม่ำเสมอในการพ่น เพื่อให้ชิ้นส่วนออกมาสมบรูณ์ และยังต้องคำนึงถึงปริมาณสารที่ใช้ไม่ให้เกิดการสิ้นเปลืองจนเกินไป งานเหล่านี้จึงให้หุ่นยนต์เข้ามาทำแทน เนื่องจากสามารถกำหนดปริมาณสารได้และทำงานได้อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนดไว้
3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยฯ แก่หน่วยงานวิจัยฯ จากสำนักคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อสร้างต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่สามารถใช้งานได้จริง และได้แล้วเสร็จตัวหุ่นยนต์ต้นแบบไป เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2550
หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
- อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
- อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์
- อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล
- อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)
- อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ
- อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
- อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
- อุปกรณ์ x-ray
- อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ
หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป
ภาพต้นแบบหุ่นยนต์ที่ถูกนำไปใช้งานจริง
4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ
หลายคนอาจจะเคยได้ยินในชื่อ “Robovac” ที่ย่อมาจากชื่อเต็มๆว่า Robotic Vacuum Cleaner ซึ่งมันจัดอยู่ในประเภทหุ่นยนต์อัจฉริยะ ที่ถูกวางโปรแกรมให้มีคุณสมบัติเหมือนเครื่องดูดฝุ่นหรืออาจจะล้ำสมัยกว่าเครื่องดูดฝุ่นด้วยซ้ำไป (ขึ้นอยู่กับแบรนด์และความสามารถที่แตกต่างของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)โดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่นส่วนใหญ่ที่เห็นได้ตามท้องตลาด ก็จะมีทั้งแบบสั่งการผ่านรีโมท และแบบ Self-drive ที่หุ่นยนต์สามารถดูแลความสะอาดได้เอง โดยที่เราไม่ต้องควบคุมหรือคอยสั่งการ นอกจากนี้ ในเรื่องของดีไซน์และฟีเจอร์ต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น บางตัวก็เป็นทรงกลม แต่บางตัวก็เป็นทรงเหลี่ยม หรือบางตัวอาจจะมีฟีเจอร์พิเศษ (เช่น กวาดพื้น) ในขณะที่บางตัวไม่มี
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
หุ่นยนต์รุ่นก่อนๆ หน้าที่หลักของมันอาจจะเป็นแค่การลดภาระในการดูดฝุ่นตามพื้นเท่านั้น แต่สำหรับปัจจุบัน เทคโนโลยีนั้นสามารถพัฒนาให้เจ้าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นนั้นฉลาดขึ้นและตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตของเรามากที่สุด ซึ่งก็มีทั้งฟีเจอร์ที่หลากหลาย และการพัฒนาระบบความสามารถ เพื่อเพิ่มขีดจำกัดให้กับมันทำให้มันไม่ใช่แค่หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ดูดฝุ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยถ้าเปรียบเทียบแล้วมันแทบจะเป็นเหมือนแม่บ้านคนนึงที่เราสามารถไว้วางใจเลยก็ว่าได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น